พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา


1.1 ความหมายของการศึกษาในทัศนะของพระพุทธศาสนา
การศึกษาตรงกับคำศัพท์ภาษาลีว่า “สิกขา” แปลว่า การฝึกอบรมตนให้งอกงามหรือการพัฒนาตนให้งอกงาม ตามหลักพระพุทธศาสนาแบ่งการพัฒนาตนให้งอกงามออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
            1การพัฒนากาย คือ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง มีสุขภาพดี มีความเป็นอยู่ที่ถูกสุขลักษณะ รวมไปถึงการรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ด้วย เช่น กินอาหารเพื่อมุ่งให้ร่างกายมีกำลัง มีสุขภาพดี มิใช่กินเพื่อความเอร็ดอร่อยหรือเพื่อความหรูหราฟุ่มเฟือย ดูโทรทัศน์ก็เพื่อติดตามข่าวสาร แสวงหาความรู้ ส่งเสริมปัญญามิใช่เพื่อมุ่งความเพลิดเพลินเพียงอย่างเดียว หรือเป็นเครื่องมือเล่นการพนัน เป็นต้น
            2การพัฒนาศีล คือ การควบคุมกาย วาจา ไม่ให้มีพฤติกรรมออกมาในทางเบียดเบียนตนเองและคนอื่น เช่น ทางกาย ก็ไม่ทำร้ายข่มเหงรังแกคนอื่น ทางวาจา ก็ไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ที่จะทำให้คนอื่นเสียหายและเสียประโยชน์ คือให้อยู่ร่วมกันด้วยดีในสังคม เป็นต้น
            3การพัฒนาจิตใจ คือ การทำจิตใจให้มีคุณสมบัติที่ดีงามพรั่งพร้อมใน 3 ด้าน คือ
  1.1)  ด้านความดี เช่น มีเมตตา มีความรัก ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความเป็นมิตรไมตรีต่อคนรอบข้าง มีความกรุณาคิดช่วยเหลือเมื่อเห็นคนอื่นมีความทุกข์ มีความกตัญณู มีสัมมาคารวะ เป็นต้น
1.2)  ด้านความแข็งแกร่ง เช่น มีจิตใจที่เด็ดเดี่ยวแน่วแน่ต่อเป้าหมายที่วางไว้ มีสติ (รู้จักยับยั้งชั่งใจ) มีวิริยะ (ความพากเพียร) มีขันติ (ความอดทน) มีสมาธิ (ความตั้งมั่นแห่งจิต) มีสัจจะ (ความจริง) เป็นต้น
1.3)  ด้านความสุข  เช่น จิตใจมีความสดชื่น ร่าเริงเบิกบาน สะอาด สงบ ปลอดโปร่ง มีปีติปราโมทย์ ไม่เครียด ไม่กระวนระวาย ไม่ขุ่นมัวหมองเศร้า เป็นต้น
4) การพัฒนาปัญญา คือ การรู้จักเพิ่มความรู้ความเข้าใจให้แก่ตัวเอง เริ่มตั้งแต่รู้จักเรียนรู้ศิลปวิทยาที่ดี มีประโยชน์สำหรับการดำรงชีวิต เป็นผู้ขวนขวายใคร่เรียนรู้สิ่งต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อก้าวให้ทันความเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดจนรู้จักคิด รู้จักวินิจฉัย รู้จักใช่ปัญญาในการแก้ไขปัญหาชีวิตด้านต่างๆ เป็นต้น
1.2)  บุรพภาคของการศึกษา
                 ทางพระพุทธศาสนานั้น แม้จะมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนให้งอกงามในด้านต่างๆ ได้ด้วยตัวเองก็จริง แต่ในกระบวนการพัฒนาตนนั้น จะต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ เป็นตัวสนับสนุนในเบื้องต้นอีกด้วยจึงจะสำเร็จได้ด้วยดี องค์ประกอบนี้เรียกว่า “บุรพภาคแห่งการศึกษา” มีอยู่ 2 ประการ ดังนี้
            1)  องค์ประกอบภายนอก หรือการมีเงื่อนไขภายนอกไขภายนอกที่สนับสนุนให้การพัฒนาตนเองเป็นไปด้วยดี เช่น ได้รับการถ่ายทอดการสั่งสอนอบรมที่ดีจากพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ เพื่อนที่ดีรวมไปถึงหนังสือ สื่อมวลชน และวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งได้ให้ข่าวสารและความรู้ที่ถูกต้อง ให้ทัศนคติอันดีงาม เหล่านี้ถือว่าเป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดี ซึ่งองค์ประกอบภายนอกนี้เรียกว่า “ปรโตโฆสะ”
    2)  องค์ประกอบภายใน หมายถึง ตัวผู้ศึกษาอบรมเองจะต้องเป็นคนรู้จักคิด รู้จักพิจารณา รู้จักใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต ใช้ความคิดอย่างถูกวิธี คิดเป็น คือมองสิ่งทั้งหลายตามหลักของเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออกให้เห็นตามสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย องค์ประกอบนี้เรียกว่า “โยนิโสมนสิการ”
องค์ประกอบทั้งสองเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและเกื้อหนุนกัน โดยอาศัยกระบวนการศึกษาต่างๆ และอาศัยความเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมและอิทธิพลภายนอกเป็นแรงผลักดันหรือเป็นปัจจัยเกื้อหนุน ถ้าได้รับการ่ายทอด แนะนำ ชักจูงจากแหล่งความรู้ที่ถูกต้อง ก็จะนำไปสู่การคิดที่ถูกต้อง เกิดสัมมาทิฐิอันจักเป็นบันไดก้าวขึ้นสู่กระบวนการศึกษาที่แท้จริง ในทางตรงกันข้ามถ้าได้รับการแนะนำจากแหล่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ก็จะนำไปสู่การคิดที่ผิด การเห็นที่ผิดเป็นมิจฉาทิฐิ ดังกรณีอหิงสกกุมาร(บวชเป็นพระองค์คุลิมาลในเวลาต่อมา)เบื้อต้นได้รับการแนะนำที่ผิดๆจากครูผู้ไม่ทำตนเป็นกัลยามิตร ก็เกิดความคิดที่ผิดทำนองคลองธรรม จนกลายเป็นมหาโจรปล้นฆ่าชีวิตคนเป็นจำนวนมาก ต่อมาภายหลังได้รับการสั่งสอนที่ถูกต้องจากพระพุทธเจ้า จึงเกิดสัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นความเห็นที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมจนกระทั่งละเว้นจากบาปอกุศลทั่งปวงได้ในที่สุด
1.3   กระบวนการศึกษา
           กระบวนการศึกษาทางพระพุทธศาสนาเน้นไปที่สัมมาทิฐิ คือ ความคิดเห็นที่ถูกต้องอันรวมไปถึงความเชื่อถือ ความนิยม เจตคติต่างๆ ที่เป็นไปในทางถูกต้องดีงาม เมื่อมีสัมมาทิฐิเป็นฐานแล้ว
การบวนศึกษาภายในตัวบุคคลก็ดำเนินไปได้ด้วยดี กระบวนการศึกษานี้แบ่งรายละเอียดออกเป็นอริยมรรคมีองค์ 8 และสรุปเป็นขั้นตอนใหญ่เรียกว่าไตรสิกขา”(สิขขา 3) ดั้งนี้
1)           การฝึกอบรมในด้านความประพฤติ ซึ่งรวมไปถึงระเบียบวินัย ความสุจริตทางกายและวาจา ละเว้นการล่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ละเว้นการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดหยาบคาย และพูดเพ้อเจ้อ ตลอดการประกอบชีพที่สุจริตไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น เรียกว่าอธิศิลสิกขา
2)การฝึกฝนอบรมในด้านจิตใจอันได้แก่  การปลูกฝังคุณธรรม การเสริมสร้างคุณภาพสมรรถภาพ และสุขภาพของจิต คือ มีจิตนเป็นสมาธิ ความมีจิตใจดีงาม แข้มแข็งว่องไว และปลอดโปรงเป็นสุขเรียกว่า อธิจิตตสิกขา
3)  การฝึกอบรมในด้านปัญญา ซึ่งก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง  รู้ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาไปตามแนวทางของเหตุผลรู้เท่าทันโลกและชีวิต จนสามารถทำจิตใจให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากความยืดมั่นในสิ่งทั้งหลาย มีจิตใจที่เป็นอิสระผ่องใสเบิกบาน ซึ่งเรียกว่า “อธิปัญญาสิกขา”

1)           อธิศีลสิกขา คือ การฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชวให้เจริญงอกงามขึ้นจนมีความพร้อมทางด้านความประพฤติ และความมีระเบียบวินัยที่ดีงาม
2)           อธิจิตตสิกขา คือ การฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิให้เจริญงอกงามจนมีความพร้อมทางด้านคุณธรรม มีคุณภาพจิต สมรรถภาพจิตและสุขภาพจิตที่ดี
3)           อธิปัญญาสิกขา คือ การฝึกปรือให้เกิดมีสัมมาทิฐิ และสัมมาสังกัปปะให้เจริญงอกงามจนมีความพร้อมทางด้านปัญญา และรู้จักคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น